หากจะมีบ้านสักหลังที่ยืนหยัดต่อสู้กับแดด ลม ฝนมาเป็นระยะเวลากว่า 19 ปี เชื่อว่าบ้าน
หลังนั้นคงต้องได้รับการออกแบบจากสถาปนิกอย่างพิถีพิถัน ก่อสร้างด้วยวิศวกรที่เอาใจใส่
มีการดูแลรักษาโดยเจ้าของบ้านด้วยหัวใจ เช่นเดียวกับบ้านของ H&D ที่รับใช้คุณผู้อ่าน
Home Feature ฉบับนี้จึงได้สรรหาสารพัดวิธีที่จะช่วยป้องกันบ้านจากความร้อนมาฝากกัน
จะเป็นอย่างไรนั้นขอเชิญติดตามกันโดยพลัน
วางตำแหน่งบ้านและห้องต้องดูทิศ
1.บ้านหรืออาคารควรออกแบบให้วางตัวขวางทางทิศเหนือใต้ เพราะหลังคาและผนังจะโดน
แดดน้อยและสามารถรับลมได้มากกว่าวางตัวอาคารหันไปทางทิศอื่น
2.ออกแบบแปลนบ้านแบบเปิดโล่ง(Open Plan)โดยการลดผนังที่ใช้กั้นห้องต่างๆ เช่น
ห้องนั่งเล่น ห้องโถง ห้องรับประทานอาหาร เพื่อช่วยให้บ้านมีการระบายอากาศที่ดี
ลมที่ผ่านเข้ามาภายในบ้านจะไหลเวียนดีขึ้น บ้านก็จะร้อนน้อยลง
3.ห้องที่มีการใช้งานน้อยเช่น ห้องเก็บของหรือโรงรถควรออกแบบให้ตั้งอยู่ในทิศตะวันตก
เนื่องจากเป็นทิศที่ร้อนมากที่สุดของวัน เพื่อใช้เป็นแนวกันความร้อนให้กับบ้าน
4. ที่จอดรถ ลานซักล้างหรือพื้นผิวที่เป็นคอนกรีตไม่ควรอยู่เหนือลม เพราะลมจะพัดเอาความร้อนที่สะสมอยู่ในพื้นคอนกรีตเข้าสู่บ้าน
ป้องกันความร้อนจากภายนอกเข้าบ้าน
5.หลังคาเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่และได้รับแสงตลอดทั้งวัน ไม่ควรมีสีเข้มเพราะสะสมความร้อน
และควรมีความลาดชันประมาณ 50-60 องศาเพื่อช่วยบังแดดให้กับหลังคาอีกด้าน
6.ผนังด้านใดของบ้านที่ได้รับแสงมากให้เลือกใช้วัสดุที่ไม่สะสมความร้อน อย่างอิฐมวลเบา
หรือก่อผนังสองชั้นร่วมกับการใช้ฉนวนกันความร้อนที่ผนังก็จะช่วยป้องกันความร้อนได้มากขึ้น
7.ผนังชนิดอื่นๆ เช่นผนังกระจกหรือหน้าต่างที่เป็นกระจกควรเลือกใช้กระจกชนิดฉนวนป้องกัน
ความร้อน เช่นกระจกสีเขียวตัดแสงหรือกระจกสองชั้นซึ่งช่วยลดความร้อนที่เข้ามาในบ้านได้
8.บ้านที่ออกแบบให้มีช่องแสงเพื่อประหยัดไฟ อย่าลืมว่าสิ่งที่มาพร้อมแสงแดดคือความร้อน
ดังนั้น ถ้าจำเป็นต้องมีช่องแสง ควรเจาะช่องแสงเพื่อรับแสงจากทางด้านทิศเหนือดีที่สุด
จะได้แสงที่ไม่ร้อน
9.ออกแบบผนังด้านที่ได้รับความร้อนมากให้มีแผงกันแดดหรือระแนงไม้
เพื่อให้กันความร้อนจากแสงกระทบกับผนังบ้านโดยตรง
ระบายอากาศร้อนจากภายในออกสู่ภายนอก
10.อากาศร้อนที่ผ่านเข้ามาในบ้านส่วนหนึ่งจะสะสมอยู่ใต้หลังคาและระบายออกที่ชายคารอบ
บ้าน การเจาะช่องระบายอากาศที่ชายคาควรอยู่ตรงข้ามกันในทิศเหนือและใต้ เพราะมีลมพัด
ผ่านประจำ ไม่ควรเจาะทุกด้าน เพราะความร้อนจะระบายออกในช่องที่ใกล้สุด
จึงไม่เกิดการไหลเวียนของอากาศใต้หลังคา
11.เช่นเดียวกับการระบายความร้อนบนหลังคา ความร้อนที่เข้ามาในบ้านในระดับหน้าต่างก็ต้อง
มีการไหลเวียน ภายในห้องควรมีหน้าต่างอย่างน้อยสองด้านเพื่อให้ลมที่ผ่านเข้ามามีทางออก
อย่าวางเฟอร์นิเจอร์หรือข้าวของบัง ทางลมอากาศในห้องจะมีการไหลเวียนเพิ่มขึ้น
และช่วยลดความร้อนลงได้
12.เพื่อควบคุมการระบายอากาศให้ดียิ่งขึ้น จะติดตั้งพัดลมดูดอากาศที่ฝ้าเพดานเพื่อช่วย
ระบายอากาศใต้ฝ้าก็ได้ ตำแหน่งการติดตั้งพัดลมควรอยู่ตรงกันข้ามกับจุดที่มีลมพัดเข้าบ้าน
เตรียมพื้นที่ในบ้านให้เหมาะสม
13.เลือกใช้เครื่องปรับอากาศให้เหมาะกับขนาดของห้อง ไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป
เพื่อไม่ให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักและเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานอีกด้วย
14.การเลือกเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านก็มีผลต่อการสะสมความร้อน
ควรเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่เบา โปร่ง มีสีอ่อน เฟอร์นิเจอร์ที่หนาหนักนอกจากจะเก็บความร้อนแล้วยังสะสมฝุ่นละอองอีกด้วย
15.ใช้เฟอร์นิเจอร์บิลท์อินป้องกันความร้อน เช่น ตู้เก็บหนังสือ ชั้นวางโทรทัศน์ ตู้โชว์
โดยออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งของผนัง เพื่อป้องกันความร้อนจากภายนอกที่ผ่านเข้ามาอีกชั้นหนึ่ง
16.เลือกใช้ผนังเบาทำผนังภายในห้องปรับอากาศ
จะช่วยลดความร้อนที่สะสมได้ดีกว่าผนังก่ออิฐฉาบปูน แต่กันเสียงได้ไม่ดีเท่าผนังก่ออิฐฉาบปูน
ปรับสภาพแวดล้อมรอบบ้านเพื่อป้องกันความร้อน
17.ปลูกต้นไม้ที่มีทรงพุ่มสูง เพื่อช่วยลดอุณหภูมิจากลมร้อนภายนอกที่พัดเข้ามาในบ้าน
และยังได้ร่มเงาในการป้องกันแดดให้กับบ้านได้อีกด้วย
18.ปลูกพืชคลุมดินแทนการเทคอนกรีตในบริเวณบ้าน
เช่นที่จอดรถ อาจจะเปลี่ยนมาใช้บล็อกตัวหนอนที่สามารถปลูกหญ้าสลับได้
19.เปลี่ยนจากรั้วทึบเป็นรั้วโปร่ง เพื่อช่วยให้ลมสามารถพัดเข้าบ้านได้สะดวก
แถมยังช่วยในเรื่องความปลอดภัยได้อีกด้วย บางส่วนของรั้วที่เป็นคอนกรีตให้ปลูกไม้เลื้อยเพื่อช่วยลดความร้อนที่รั้วบ้าน
ที่มา Home&Decor Vol.19 No.228
หลังนั้นคงต้องได้รับการออกแบบจากสถาปนิกอย่างพิถีพิถัน ก่อสร้างด้วยวิศวกรที่เอาใจใส่
มีการดูแลรักษาโดยเจ้าของบ้านด้วยหัวใจ เช่นเดียวกับบ้านของ H&D ที่รับใช้คุณผู้อ่าน
Home Feature ฉบับนี้จึงได้สรรหาสารพัดวิธีที่จะช่วยป้องกันบ้านจากความร้อนมาฝากกัน
จะเป็นอย่างไรนั้นขอเชิญติดตามกันโดยพลัน
วางตำแหน่งบ้านและห้องต้องดูทิศ
1.บ้านหรืออาคารควรออกแบบให้วางตัวขวางทางทิศเหนือใต้ เพราะหลังคาและผนังจะโดน
แดดน้อยและสามารถรับลมได้มากกว่าวางตัวอาคารหันไปทางทิศอื่น
2.ออกแบบแปลนบ้านแบบเปิดโล่ง(Open Plan)โดยการลดผนังที่ใช้กั้นห้องต่างๆ เช่น
ห้องนั่งเล่น ห้องโถง ห้องรับประทานอาหาร เพื่อช่วยให้บ้านมีการระบายอากาศที่ดี
ลมที่ผ่านเข้ามาภายในบ้านจะไหลเวียนดีขึ้น บ้านก็จะร้อนน้อยลง
3.ห้องที่มีการใช้งานน้อยเช่น ห้องเก็บของหรือโรงรถควรออกแบบให้ตั้งอยู่ในทิศตะวันตก
เนื่องจากเป็นทิศที่ร้อนมากที่สุดของวัน เพื่อใช้เป็นแนวกันความร้อนให้กับบ้าน
4. ที่จอดรถ ลานซักล้างหรือพื้นผิวที่เป็นคอนกรีตไม่ควรอยู่เหนือลม เพราะลมจะพัดเอาความร้อนที่สะสมอยู่ในพื้นคอนกรีตเข้าสู่บ้าน
ป้องกันความร้อนจากภายนอกเข้าบ้าน
5.หลังคาเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่และได้รับแสงตลอดทั้งวัน ไม่ควรมีสีเข้มเพราะสะสมความร้อน
และควรมีความลาดชันประมาณ 50-60 องศาเพื่อช่วยบังแดดให้กับหลังคาอีกด้าน
6.ผนังด้านใดของบ้านที่ได้รับแสงมากให้เลือกใช้วัสดุที่ไม่สะสมความร้อน อย่างอิฐมวลเบา
หรือก่อผนังสองชั้นร่วมกับการใช้ฉนวนกันความร้อนที่ผนังก็จะช่วยป้องกันความร้อนได้มากขึ้น
7.ผนังชนิดอื่นๆ เช่นผนังกระจกหรือหน้าต่างที่เป็นกระจกควรเลือกใช้กระจกชนิดฉนวนป้องกัน
ความร้อน เช่นกระจกสีเขียวตัดแสงหรือกระจกสองชั้นซึ่งช่วยลดความร้อนที่เข้ามาในบ้านได้
8.บ้านที่ออกแบบให้มีช่องแสงเพื่อประหยัดไฟ อย่าลืมว่าสิ่งที่มาพร้อมแสงแดดคือความร้อน
ดังนั้น ถ้าจำเป็นต้องมีช่องแสง ควรเจาะช่องแสงเพื่อรับแสงจากทางด้านทิศเหนือดีที่สุด
จะได้แสงที่ไม่ร้อน
9.ออกแบบผนังด้านที่ได้รับความร้อนมากให้มีแผงกันแดดหรือระแนงไม้
เพื่อให้กันความร้อนจากแสงกระทบกับผนังบ้านโดยตรง
ระบายอากาศร้อนจากภายในออกสู่ภายนอก
10.อากาศร้อนที่ผ่านเข้ามาในบ้านส่วนหนึ่งจะสะสมอยู่ใต้หลังคาและระบายออกที่ชายคารอบ
บ้าน การเจาะช่องระบายอากาศที่ชายคาควรอยู่ตรงข้ามกันในทิศเหนือและใต้ เพราะมีลมพัด
ผ่านประจำ ไม่ควรเจาะทุกด้าน เพราะความร้อนจะระบายออกในช่องที่ใกล้สุด
จึงไม่เกิดการไหลเวียนของอากาศใต้หลังคา
11.เช่นเดียวกับการระบายความร้อนบนหลังคา ความร้อนที่เข้ามาในบ้านในระดับหน้าต่างก็ต้อง
มีการไหลเวียน ภายในห้องควรมีหน้าต่างอย่างน้อยสองด้านเพื่อให้ลมที่ผ่านเข้ามามีทางออก
อย่าวางเฟอร์นิเจอร์หรือข้าวของบัง ทางลมอากาศในห้องจะมีการไหลเวียนเพิ่มขึ้น
และช่วยลดความร้อนลงได้
12.เพื่อควบคุมการระบายอากาศให้ดียิ่งขึ้น จะติดตั้งพัดลมดูดอากาศที่ฝ้าเพดานเพื่อช่วย
ระบายอากาศใต้ฝ้าก็ได้ ตำแหน่งการติดตั้งพัดลมควรอยู่ตรงกันข้ามกับจุดที่มีลมพัดเข้าบ้าน
เตรียมพื้นที่ในบ้านให้เหมาะสม
13.เลือกใช้เครื่องปรับอากาศให้เหมาะกับขนาดของห้อง ไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป
เพื่อไม่ให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักและเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานอีกด้วย
14.การเลือกเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านก็มีผลต่อการสะสมความร้อน
ควรเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่เบา โปร่ง มีสีอ่อน เฟอร์นิเจอร์ที่หนาหนักนอกจากจะเก็บความร้อนแล้วยังสะสมฝุ่นละอองอีกด้วย
15.ใช้เฟอร์นิเจอร์บิลท์อินป้องกันความร้อน เช่น ตู้เก็บหนังสือ ชั้นวางโทรทัศน์ ตู้โชว์
โดยออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งของผนัง เพื่อป้องกันความร้อนจากภายนอกที่ผ่านเข้ามาอีกชั้นหนึ่ง
16.เลือกใช้ผนังเบาทำผนังภายในห้องปรับอากาศ
จะช่วยลดความร้อนที่สะสมได้ดีกว่าผนังก่ออิฐฉาบปูน แต่กันเสียงได้ไม่ดีเท่าผนังก่ออิฐฉาบปูน
ปรับสภาพแวดล้อมรอบบ้านเพื่อป้องกันความร้อน
17.ปลูกต้นไม้ที่มีทรงพุ่มสูง เพื่อช่วยลดอุณหภูมิจากลมร้อนภายนอกที่พัดเข้ามาในบ้าน
และยังได้ร่มเงาในการป้องกันแดดให้กับบ้านได้อีกด้วย
18.ปลูกพืชคลุมดินแทนการเทคอนกรีตในบริเวณบ้าน
เช่นที่จอดรถ อาจจะเปลี่ยนมาใช้บล็อกตัวหนอนที่สามารถปลูกหญ้าสลับได้
19.เปลี่ยนจากรั้วทึบเป็นรั้วโปร่ง เพื่อช่วยให้ลมสามารถพัดเข้าบ้านได้สะดวก
แถมยังช่วยในเรื่องความปลอดภัยได้อีกด้วย บางส่วนของรั้วที่เป็นคอนกรีตให้ปลูกไม้เลื้อยเพื่อช่วยลดความร้อนที่รั้วบ้าน
ที่มา Home&Decor Vol.19 No.228